วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

การประหยัดพลังงานระบบแสงสว่าง

  1. การประหยัดพลังงานระบบแสงสว่าง

  2. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน

  3. จากหลอดต้องเหมาะสมกับลักษณะงานอุณภูมิสีของแสง ป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้มีความขาวมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีอุณภูมิต่ำแสงที่ได้ออกมาจะเป็นโทนสีเหลืองหรือแดงจะให้ความรู้สึกโทนสีอุ่น เช่น Warm White เหมาะกับบ้านที่อยู่อาศัย โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ถ้าอุณภูมิสูงขึ้นแสงก็จะยิ่งขาวขึ้นจะให้ความรู้สึกโทนสีเย็น เช่น White หรือ Daylight เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ออฟฟิศ

  • อายุการใช้งานของหลอดไฟ
หลอดไฟที่มีราคาถูกมักจะอายุการใช้งานสั้นทำให้ต้องมีการเปลี่ยนหลอดอยู่บ่อยๆทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลอดที่มีราคาแพงแต่อายุการใช้งานนานกว่า เช่น หลอดไส้ราคาถูกกว่าหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์แต่อายุการใช้งานสั้นกว่า

  •  หลอดไส้
เป็นหลอดแสงสว่างราคาถูก สีของแสงดี ติดตั้งง่ายให้แสสว่างทันที่ เมื่อเปิด สามารถติดอุปกรณ์เพื่อปรับหรือหรี่แสงได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพแสงต่ำมาก อายุการใช้งานสั้น ไฟฟ้าที่ป้อนให้หลอดจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนกว่าร้อยละ 90 จึงไม่ประหยัด พลังงาน แต่เหมาะสมกับการใช้งานประเภทที่ต้องการหรี่แสง เช่น ห้องจัดเลี้ยงตามโรงแรม ส่วนหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถหรี่แสงได้

  • หลอดฟลูออเรสเซนต์
เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพทางแสงสูงกว่าหลอดไส้มาตรฐานทั่วไปประมาณ 3 ถึง 5 เท่า(โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 55-90 ลูเมน/วัตต์) และอายุการใช้งานมากกว่าประมาณ 20 – 30 เท่า หลอดฟลูออเรสเซนต์แท่งยาวที่ใช้แพร่หลายมีขนาด 36 วัตต์ แต่ยังมีหลอดแสงสว่างประสิทธิภาพสูง (หลอดซุปเปอร์ลักซ์) ซึ่งมีราคาต่อหลอดแพงกว่าหลอดแสสว่าง 36 วัตต์ธรรมดา แต่ให้ปริมาณแสงมากกว่าร้อยละ 20 ในขนาดการใช้กำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน 

ควรเลือกสีของหลอดไฟให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อให้เกิดความสบายตาและมองเห็นสีของวัตถุได้ถูกต้องตามความเป็นจริงและช่วยลดอุบัติเหตุ เช่น แสงสีขาวเหมาะกับการอ่านหนังสือ แสงสีส้มเหมาะกับส่องสินค้าในห้างสรรพสินค้าเป็นต้น

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หรือ หลอดความร้อน หรือ หลอดไส้ (อังกฤษincandescent light bulb, incandescent lamp หรือ incandescent light globe) ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ ในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด ซึ่งขยายอายุการใช้งาน หลอดไฟฟ้านี้ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเทอร์มินอลต่อสายไฟ (feed-through terminal) หรือลวดที่ฝังในแก้ว หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในเต้ารับซึ่งสนับสนุนหลอดไฟฟ้าทางกลไกและเชื่อมกระแสไฟฟ้าเข้ากับเทอร์มินัลไฟฟ้าของหลอด
หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาผลิตออกมาหลายขนาด กำลังส่องสว่าง และอัตราทนความต่างศักย์ ตั้งแต่ 1.5 โวลต์ถึงราว 300 โวลต์ หลอดประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมภายนอก มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และทำงานได้ดีเท่ากันทั้งไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรง ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาจึงใช้กันอย่างกว้างขวางในครัวเรือนและไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนไฟฟ้าแบบพกพา อย่างเช่น ไฟตั้งโต๊ะ ไฟหน้ารถยนต์ และไฟฉาย และไฟฟ้าสำหรับตกแต่งและโฆษณา
บ้างใช้ประโยชน์จากใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากไส้หลอดของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อาทิ เครื่องฟักไข่ กล่องฟักไข่สำหรับสัตว์ปีก ไฟความร้อนสำหรับสวนจำลองสภาพแวดล้อม (vivarium) ของสัตว์เลื้อยคลาน[1][2] การให้ความร้อนอินฟราเรดในกระบวนการให้ความร้อนและอบแห้งในอุตสาหกรรม ความร้อนส่วนเกินนี้เพิ่มพลังงานที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศของอาคาร
หลอดไฟฟ้าแบบอื่นค่อย ๆ แทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาหลายด้าน อาทิ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์แคโทดเย็น, หลอดอัดก๊าซความดันสูง และไดโอดเปล่งแสง เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าเหล่านี้พัฒนาอัตราส่วนแสงที่มองเห็นได้ต่อการผลิตความร้อน เขตอำนาจบางแห่ง เช่น สหภาพยุโรป อยู่ในระหว่างกระบวนการเลิกใช้หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหันไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่า
ที่มา